วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552

ปกใน

สิงคโปร์
พรรณทิพย์ คุ้มพะเนียด
รหัส5131040067
แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ
รหัสวิชา3000-1601
ภาคเรียนที่2/2551
วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม

ปกนอก

สิงค์โปร์
พรรณทิพย์ คุ้มพะเนียด
รหัส5131040067
แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552

ศาสนาในประเทศสิงคโปร์

ศาสนาพุทธ (42.5%)


ศาสนาอิสลาม (14.9%)



ศาสนาคริสต์ (14.6%)


ศาสนาฮินดู (4%)



สิงคโปร์"คลิ๊กที่เดียว เที่ยวทั่วโลก".ศาสนา
เข้าถึงเมื่อวันที่ 12-01-2552
http://www.vacationzone.co.th/index_singapore.asp

ซีนีมาเนีย (Cinemania)


ถ้าคุณต้องการความตื่นเต้น ลองกระโจนเข้าสู่การเดินทางที่สมจริงจนเหมือนคุณเป็นคนแสดงเองได้ที่นี่! ซีนีมาเนีย (Cinemania) คือโรงภาพยนตร์เหมือนจริงสไตล์ศตวรรษที่ 21 แห่งแรกของสิงคโปร์ โรงหนังที่จำลองภาพจริงแบบไดนามิกแห่งนี้มีจุดเด่นคือระบบภาพและเสียงล้ำยุค มีจอภาพขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาสำหรับฟิล์มแบบไฮสปีดที่ทำขึ้นเป็นพิเศษ มีเอฟเฟคของภาพและเสียงที่ระทึกใจ เสริมด้วยซาวน์แทรคแบบเซนเซอร์ราวด์และเก้าอี้เคลื่อนไหวตามสัญญาณคอมพิวเตอร์ ผสมผสานกับแรงลมของจริงเพื่อสร้างประสบการณ์การรับชมที่เหลือเชื่อให้แก่คุณ โชว์ครั้งหนึ่งจะฉายหนังสองรอบ แต่ละรอบจะใช้เวลาราวสี่ถึงห้านาที ภาพที่ฉายจะมีการปรับปรุงใหม่เป็นประจำตลอดทั้งปี คุณจะแล่นฉิวผ่านเหมืองผีสิง (Haunted Mine) หรือจะนั่งรถไฟเหาะสำหรับเด็ก (Kid Coaster) ในห้องนอนของเด็ก นี่เป็นความทรงจำที่คุณจะลืมไม่ลงเลยทีเดียว!
รวมรายการท่องเที่ยว สิงคโปร์.ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ประเทศสิงคโปร์
เข้าถึงเมื่อ 12-01-2552

กัมปง กีลาม (Kampong Glam)


- ที่นี่ตั้งชื่อตามต้นกลาม (Glam tree) ที่เคยขึ้นอยู่มากในบริเวณนี้ ในอดีตเป็นที่ประทับของกษัตริย์ชาวมลายูของสิงคโปร์ ในปัจจุบัน วัง "อิสตานะ กัมปง กีลาม" (วังสุลต่าน) หลังเก่าได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมที่ชื่อว่า ศูนย์วัฒนธรรมมลายู (Malay heritage centre) เพื่อใช้เป็นสถานที่แสดงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชุมชนชาวมลายูในสิงคโปร์ อาคารและสถาปัตยกรรมของที่นี่ได้รับการปฏิสังขรณ์อย่างพิถีพิถัน เพื่อเป็นการอนุรักษ์บรรยากาศและความสมจริงเอาไว้ ถัดจากวังอิสตานะ (Istana) ก็คือ "เทปัก ไซเร" (Tepak Sireh) ซึ่งเป็นภัตตาคารที่ดัดแปลงมาจากบังกาโลเก่า ที่นี่มีอาหารฮาลาลและการแสดงทางวัฒนธรรมในสภาพแวดล้อมแบบโบราณที่น่าหลงใหล ถ้าคุณโชคดี คุณอาจจะได้ร่วมรับประทานอาหารค่ำกับแขกของเราที่งานแต่งงานของชาวมาเลย์แบบราชวงศ์ อาคารหลักของกัมปง กีลามก็คือมัสยิดสุลต่าน (Sultan Mosque หรือ Masjid Sultan) ตั้งอยู่บนถนนบัสโซราห์ (Bussorah Street) เป็นมัสยิดขนาดใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ที่สามารถรองรับชาวมุสลิมได้ถึง 5,000 คนในงานชุมนุมสวดมนต์ มัสยิดแห่งนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1928 มีจุดเด่นคือโดมสีทองขนาดใหญ่ และเป็นสถาบันทางศาสนาที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของสิงคโปร์ ด้านหน้าของมัสยิดจะมีบัสโซรามอลล์ (Bussorah Mall) ที่นี่จะมีร้านค้าที่ได้รับการบูรณะไว้อย่างสวยงาม เป็นที่ขายเสื้อผ้า สิ่งของ งานฝีมือ เครื่องเรือน และเครื่องเพชรพลอยแบบโบราณ คุณอาจเดินเที่ยวไปตามถนนคานดาฮาร์ (Kandahar Street) เพื่อลองชิมอาหารมาเลย์โบราณก็ได้ ถนนอาหรับ (Arab Street) เป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวมุสลิม ที่นี่เคยเป็นแหล่งขายหมวกสำหรับชายชาวมุสลิม (Songkok) คัมภีร์อัลกุรอ่าน เสื่อรองสวดมนต์ และสิ่งทอแบบต่างๆ ในปัจจุบันนั้น ถนนอาหรับเป็นสถานที่ในฝันของนักออกแบบเสื้อผ้า! ที่นี่มีอุปกรณ์แฟชั่นที่แวววับและหรูหราอยู่เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ผ้าลูกไม้เนื้อดี หินมีค่าที่ส่องประกายแวววับ ขนนกกระจอกเทศ พลอยเทียม ด้ายทอง และไหมที่ห่อแบบขายส่ง ผ้าไหมโปร่งแสง และผ้าเส้นทองที่ส่องประกายสีรุ้ง
รวมรายการท่องเที่ยว สิงคโปร์.ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ประเทศสิงคโปร์
เข้าถึงเมื่อ 12-01-2552
http://www.linethaitravel.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=99966&Ntype=2

ช่องแคบสิงคโปร์

ช่องแคบสิงคโปร์ (Singapore Strait) ยาวประมาณ 105 กิโลเมตร กว้าง 16 กิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของสิงคโปร์ ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบมะละกา ทางใต้ติดประเทศอินโดนีเซีย


ช่องเเคบสิงคโปร์.วิกิพีเดีย

เข้าเมื่อ 12-01-2552

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%8C

ประวัติศาสตร์


ช่วงต้น สิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดแหลมมลายู เป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลก เดิมชื่อว่า เทมาเส็ก (ทูมาสิค) มีกษัตริย์ปกครอง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละกา ยุคการล่าอาณานิคม ประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป แต่ประมาณปี ค.ศ. 1817 อังกฤษได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส แสตมฟอร์ด บิงก์เลย์ แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษก็ยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ สงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ และก็สามารถยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้ แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง อังกฤษก็ได้ครอบครองสิงคโปร์เหมือนเดิม การรวมชาติเข้ากับมาเลเซีย เมื่อสิงคโปร์เห็นมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงรีบขอรวมชาติเข้ากับมลายาทันที เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีก แต่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลเซียมากนักเพราะมีการเหยียดชนชาติกัน ทำให้พรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 ตั้งแต่บัดนั้นมา

ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ก่อนศตวรรษที่ 14 มิได้ถูกบันทึกอย่างชัดเจนและแน่นอนนัก ในช่วงศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชฌาปาหิตแห่งชวา ต่อมาใน ต้นศตวรรษที่ 15 ก็อยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรสยาม จนถูกประมุขแห่งมะละกาเข้ามาแย่งชิงไป และเมื่อโปรตุเกสเข้ายึดครองมะละกา สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสในราวปี ค.ศ. 1498 และต่อมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอลันดาในช่วงศตวรรษที่ 17

เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มสนใจ สิงคโปร์ ในปี 1819 อังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา ในปี 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี 1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซ็ตเติลเมนท์ (Straits Settlement) ซึ่งให้บริษัท อินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์ รวมทั้งปีนัง และมะละกาด้วย และต่อมาในปี 1857 รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม (Crown Colony) ของอังกฤษ จนกระทั่งปี 1946 จึงได้รับการบกฐานะให้เป็นอาณานิคมแบบ เอกเทศ (Separate Crow colony) เมื่ออังกฤษกลับมายึดครองสิงคโปร์อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่สิงคโปร์อยู่ภายใต้ญี่ปุ่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (1942-1946)

ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศนั้น สิงคโปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดูแลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผู้ว่าราชการจากอังกฤษมา ปกครองอยู่ ในสภานิติบัญญัติ (Legislative Council) นั้น อังกฤษเริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน (6 คน จาก 22 คน) ได้ ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาบางส่วนนี้ในปี 1948 พรรคก้าวหน้า (Progressive Party) ของสิงคโปร์ได้ที่นั่งมากที่สุด ต่อมาในปี 1951 สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งถูกเพิ่มเป็น 9 คน ในจำนวน 25 คน และในปี 1955 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งมีจำนวน 25 คน ในจำนวน 32 คน

ต่อมาอังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง 10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณะรัฐนั้น สิงคโปร์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ (1) รัฐบาลของนายเดวิด มาร์แชล (David Marshall) จากปี 1955-1956 (2) รัฐบาลของนายลิม ยิว ฮ๊อค (Lim Yew Hock) จากปี 1956-1959 และ (3) รัฐบาลของนาย ลี กวน ยิว (Lee Kuan Yew) ซึ่งภายใต้รัฐบาลนี้สิงคโปร์อำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แล้ว และนายลีได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ต่อมาในช่วงปี 1963-1965 รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ตัดสินใจเข้าไปรวมอยู่ในสหพันธรัฐมาเลเซีย และอยู่ได้เพียง 2 ปี

นับจากปี 1965 เมืองสิงคโปร์ประกาศตนเป็นประเทศเอกราช มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง โดยปกครองในรูปของสาธารณรัฐ หลังจากนั้นสิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวเป็นเวลาถึง 25 ปี ซึ่งก็คือ นาย ลี กวน ยิว ทั้งนี้เป็นเพราะพรรคกิจประชา (PAP: People’ Action Party) ซึ่งนาย ลี เป็นผู้ก่อตั้งแต่ปี 1961 นั้นมีชัยชนะในการเลือกตั้งเกือบทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งซ่อม

ทศวรรษที่ 1990 เป็นจุดเริ่มต้นของกรปรับเปลี่ยนการปกครองสิงคโปร์จากผู้นำกลุ่มเก่า (Old Guards) เป็นผู้นำรุ่นใหม่ (New Guards) นาย โก๊ะ จ๊ก ตง (Goh Chok Tong) ได้รับการคัดเลือกจากพรรคกิจประชาและคณะรัฐมนตรี ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1990 นาย ลี กวน ยิว ยังดำรงตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลชุดใหม่โดยเป็นรัฐมนตรีอาวุโส และในปี 1993 สิงคโปร์เริ่มใช้ระบบประธานาธิบดีแบบใหม่ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

ปัจจุบันปี 2006 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อเลือกผู้นำคนใหม่และทีม เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศต่อไป แต่อย่างไรก็ดี พรรคกิจประชาก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นเหมือนอย่างเดิม โดยพรรค PAP ได้รับที่นั่งในฝ่ายรัฐบาล 82 ที่นั่งจาก 84 ที่นั่ง ซึ่งเท่ากับสมัยนายโก๊ะ จก ตงได้รับในปี 2544 แต่ได้คะแนนเสียงลดลงจากสมัยแรกที่ได้ 75.3 เป็น66.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งรัฐบาลนี้ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของนาย ลี เซียน หลุง สมัยที่สองซึ่งรัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันในเรื่องปัญหาคนยากไร้ ผู้สูงอายุและคนว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นาย ลี เซียน หลุงจะได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้นั้น เขาได้เน้นโยบายแบ่งปันรายได้ผนวกกับความอ่อนแอและแตกแยกของพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรคPAP ได้ครองอำนาจสืบทอดมาเป็นระยะเวลา 4 ทศวรรษ

แหล่งอ้างอิง
ประเทศสิงคโปร์.วิกิพีเดีย
เข้าเมื่อ 12-01-2552
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%8C